Northern Shellac CSR
27 มีนาคม 2560
4,085

ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัท หรือ ซีเอสอาร์ 

        (อังกฤษ: corporate social responsibility: CSR) เป็นเครื่องมือที่โลกตะวันตกคิดขึ้นสำหรับใช้ควบคุมหรือถ่วงดุลลัทธิทุนนิยมสุดขั้ว มุ่งกำไรสูงสุดจนหย่อนด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบทางสังคมเป็นกลไกควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจข้ามชาติให้ต้องประพฤติปฏิบัติในลักษณะที่แสดงความรับผิดชอบทางสังคมในหลากหลายมิติ
หลักการของธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคมจึงอยู่บนฐานความเชื่อว่าธุรกิจกับสังคมจะต้องอยู่ร่วมกันช่วยเหลืออย่างเกื้อกูลเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ช่วยกันลดจุดอ่อนต่อกัน ความรับผิดชอบทางสังคมหลากหลายมิติ

ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบริษัทมีหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้
        1. ด้านสิ่งแวดล้อม - ธุรกิจอาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ อาจก่อมลภาวะต่ออากาศ มลภาวะทางเสียง ต่อแม่น้ำลำคลอง ต่อน้ำฝน ต่อน้ำผิวดิน เป็นต้น เช่นธุรกิจสารเคมีอาจก่อพิษภัยทั้งในลักษณะพิษที่เกิดทันทีอย่างเฉียบพลันหรือค่อยๆสะสมพิษร้ายทีละน้อยๆ เกิดผลกระทบแบบเรื้อรังหรือตายผ่อนส่งธุรกิจที่ก่อผลร้ายเช่นนี้ต้องมีวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดผลร้ายอย่างได้ผล จึงจะถือว่ารับผิดชอบต่อสังคม
        2. ด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติธุรกิจอาจแย่งใช้น้ำจากแหล่งน้ำเดียวกันกับชุมชนอาจใช้ทรัพยากรธรรมชาติชนิดที่ใช้แล้วหมดธุรกิจจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบและต่อสังคมในภาพรวม ที่จะไม่ก่อปัญหาแบบไร้ความรับผิดชอบ
        3. ด้านความเป็นธรรมต่อเพื่อนมนุษย์-การจ่ายค่าแรง ค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าดูแลสุขภาพ อย่างเป็นธรรม การจัดสถานที่ทำงานให้เป็น healthy workplace และ happy workplace การจัดให้เป็น learning organization
        4. ด้านจิตวิญญาณของผู้คน-ธุรกิจที่มุ่งผลกำไรสูงมองความสำเร็จที่ผลกำไร มองความสามารถคู่กับผลได้ทางวัตถุและเงินเดือน มีแนวโน้มที่จะสร้างวัฒนธรรมวัตถุนิยมสุดขั้ว เพิ่มพูนความโลภ หย่อนด้านจิตวิญญาณ หย่อนด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
        5. ด้านความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ-ทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริตและรักษาผลประโยชน์ตามหลัก BSC - Balanced Score Card คือต่อผู้ถือหุ้น ต่อลูกค้าหรือคู่ค้า ต่อพนักงาน และต่อสังคมวงกว้าง
        6. สำคัญที่จิตสำนึกที่แสดงออกทางการปฏิบัติและมีคำอธิบาย