โครงการ Zero Waste ด้วย หญ้าเนเปียร์
22 พฤศจิกายน 2559
8,570

โครงการ Zero Waste ด้วยหญ้าเนเปียร์

        การผลิตครั่งเม็ดจากครั่งดิบนั้น  คือการคัดแยกฝุ่น เศษไม้ และการล้างน้ำเลี้ยงที่แดงออกจากครั่งดิบให้สะอาดโดยกระบวนการดังกล่าวจะมีเศษวัสดุเหลือทิ้งหลายประเภท จำแนกเป็น
        1. เศษดิน ฝุ่นที่ปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ
        2. น้ำเสียที่เกิดจากการล้าง น้ำเลี้ยงสีแดง ของครั่งดิบในกระบวนการผลิต

        แต่เดิมทางบริษัท นอร์ทเทอร์น สยามซีดแลค จำกัด ใช้วิธีการกำจัด เศษไม้ และฝุ่นด้วยการนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในการเพาะปลูก แต่ก็ยังประสบปัญหากับน้ำล้างวัตถุดิบจำนวนมากซึ่งมีสีแดงเข้มไม่สามารถที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะได้ต้องใช้วิธีการบำบัดด้วยบุตกตะกอนแล้วใช้วิธีการระเหยโดยธรรมชาติในการกำจัดซึ่งวิธีนี้ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่อย่างมากในการจัดเก็บน้ำเสีย ประกอบกับการระเหยนั้นไม่ทันต่อปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น
        ทางบริษัทจึงได้ร่วมกับหน่วยงานกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อนำน้ำเสียของโรงงานไปส่งตรวจองค์ประกอบผลว่าปรากฎว่าน้ำเสียจากการล้างวัตถุดิบนั้นไม่มีโลหะหนัก ไม่มีความเป็นพิษ เพียงแต่มีสีแดงเข้ม นอกจากนี้แล้วยังมีสารอาหารที่พืชต้องการเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะ ไนโตรเจน ซึ่งเป็นอาหารใบของพืช

        ดังนั้นทางบริษัทจึงได้ประเมินงานกับทางศูนย์อาหารสัตว์ของลำปางที่อำเภอห้างฉัตรเพื่อไปดูงานเรื่องโครงการหญ้าเนเปียร์ปากช่อง1ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นโรงงานผลิตแป้งมันและสารสกัดจากมันสำปะหลังขนาดใหญ่ โดยโรงงานนี้ได้ทำการบำบัดน้ำเสียด้วยการนำน้ำเสียที่ได้มาเพาะปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ซึ่งสร้างรายได้อย่างมากให้แก่เกษตรกรบริเวณโดยรวมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน

        หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 นั้นมีคุณสมบัติพิเศษ 2 ประการคือ ให้ผลผลิตต่อไร่ที่สูงมากถึง 80,000-100,000 กก/ปี และยังมีโปรตีนที่สูงมากถึง 11-13% น้ำหนักแห้งจึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่พวก ช้าง ม้า วัว

        ดังนั้นทางบริษัท นอร์ทเทอร์นสยามซีดแลค จำกัด ได้เริ่มดำเนินการโครงการ Zero Waste คือของเสียเป็นศูนย์ ตั้งแต่ปี 2557 โดยการนำเศษไม้ ฝุ่นและวัสดุคงเหลือของแข็งมาทำการหมักเพื่อใช้เป็นปุ๋ยอินทรีและนำน้ำล้างครั่งที่มีสีแดงมาเป็นปุ๋ยน้ำเพื่อทำการปลูกเพาะหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 โดยได้เริ่มต้นที่พื้นที่ติดกับบ่อบำบัดน้ำเสียจำนวน 10 ไร่ สามารถสร้างผลผลิตหญ้าอาหารสัตว์คุณภาพสูงได้กว่า 800 ตันต่อปี